วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

การเล่นบุกทำคะแนน

การเล่นบุกทำคะแนน

              การเล่นบุกทำคะแนนมีหลากหลายกว่า เกี่ยวข้องกับแผนการส่งลูก และการเคลื่อนไหวของผู้เล่นที่ไม่ถือลูก การคัท (cut) หรือวิ่งตัด คือการที่ผู้เล่นที่ไม่มีลูกวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังตำแหน่งที่ได้เปรียบ การสกรีน (screen) หรือ พิก (pick) คือการที่ผู้เล่นฝ่ายบุกยืนขวางทางผู้เล่นฝ่ายรับที่ประกบเพื่อนร่วมทีมใน ขณะที่เพื่อนร่วมทีมนั้นวิ่งตัดข้างๆ เขา การเล่นสองแบบนี้สามารถรวมเข้าเป็นพิกแอนด์โรล (pick and roll) โดยที่ผู้เล่นคนแรกทำพิกจากนั้นก็หมุนตัววิ่งเข้าหาห่วง (ซึ่งเรียกว่าโรล) สกรีน และ คัท เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ทำให้ส่งลูกและทำคะแนนได้สำเร็จ ทีมมักมีแผนการเล่นที่หลากหลายเพื่อให้อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาการเล่นได้ ในสนามผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีหน้าที่บอกแผนการเล่นที่จะใช้ให้กับ เพื่อนร่วมทีม

วิธีการบุก
1. การรุกเร็วหรือการลักไก่ (Fast Break Attack) ใช้ในโอกาสที่ฝ่ายตรงข้ามที่ไปตั้งรับไม่ทันอาศัยทักษะเฉพาะตัวและการประสานงานในทีม พาลูดทีมไปยิงประตูฝ่ายตรงข้ามได้อย่างรวดเร็ว การรุกแบบรวดเร็วสนามจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนเท่ากัน ตามแนวเส้นข้างตั้งฉากกับเส้นหลัง เนื่องจากการรุกเร็วสามารถรุกเข้าห่วงประตูทั้ง 3 ส่วนของสนามพร้อมกันในเวลาเดียวกัน จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามป้องกันได้ยากขึ้น

2. การรุกช้า (Slow or deliberate Attack) การรุกช้าเป็นยุทธวิธีอีกวิธีหนึ่ง ที่ใช้กรณีฝ่ายตรงข้ามสามารถถอยป้องกันได้ทัน ทำให้ความสามารถในการพาลูกบอลเข้าไปยิงประตูฝ่ายตรงข้ามช้าลงหรือยากขึ้น จึงจำเป็นต้องหารูปแบบยุทธวิธีในการรุก โดยสังเกตุจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้ามในการป้องกัน เพื่อนำรูปแบบการรุกของทีมมาใช้อย่างเหมาะสม
 



การเล่นตั้งรับ

การเล่นตั้งรับ

            การเล่นตั้งรับ มีหลักการแตกต่างกันสองรูปแบบ คือ ตั้งรับแบบโซน (zone defense) และ แบบแมน-ทู-แมน (man-to-man defense) การตั้งรับแบบโซน ผู้เล่นจะยืนคุมผู้เล่นฝ่ายบุกที่อยู่ในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ ส่วนแบบ แมน-ทู-แมน นั้น ผู้เล่นฝ่ายรับแต่ละคนจะยืนคุมและป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่โค้ชวางแผน การเล่นเอาไว้

การตั้งรับแบบโซนมีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่
1. การตั้งรับแบบ 2-1-2
            นิยมเล่นกันมาก เพราะสามรถเปลี่ยนสภาพของรูปแบบได้ง่าย โดยการเครลื่อนที่ของคนกลางขึ้นหรือลงเพียงคนเดียวเท่านั้นก็จะทำให้รูปแบบเปลี่ยนไป การตั้งรับแบบนี้มักใช้กับทีมตรงข้ามที่เก่งในการส่งบอลวงนอก ซึ่งสามารถป้องกันพื้นที่เขตโทษได้ดี และป้องกันการยิงประตูในระยะไกล การตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่น 2 คน อยู่กลาง 1 คน และอยู่หลัง 2 คน โดยแต่ละคนจะต้องคอยดูแลรับผิดชอบพื้นที่ของตน


2. การตั้งรับแบบ 1-2-2
            เป็นการป้องกันการยิงประตูในระยะไกลบริเวณหัวกระโหลดของเขตโทษได้ดีแต่ด้อยในการป้องกันฝ่ายตรงข้ามที่รุกใต้แป้น และการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่ 1 คน อยู่กลาง 2 คน อยู่หลัง 2 คน คอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน


3. การตั้งรับแบบ 3-2
            ใช้เมื่อผู้เล่นศูนย์หน้าและผู้เล่นหลัง หรือการ์ด 2 คน ยิงประตูวงนอกได้แม่นยำ แต่ขาดประสิทธิภาพในการรุกใต้แป้นโดยการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่หน้า 3 คน และอยู่หลัง 2 คน คอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน


4. การตั้งรับแบบ 2-3
            มักใช้กับทีมตรงข้ามที่มีความสามารถรุกใต้แป้นได้ดี โดยการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่หน้า 2 คน และอยู่หลัง 3 คน คอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน


การป้องกันแบบ แมน-ทู-แมน มีวิธีปฏิบัติดังนี้
1. ยืนเตรียมพร้อม และเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของผ่ายรุก และต้องติดตามไปเป็นเงาตามตัวพยายามขวางทิศทางการเคลื่อนที่ของคู่แข่งขัน
2. สายตาจะต้องจับจ้องอยู่ที่ลูกบอล และคู่แข่งขันตลอดเวลา
3. ยกมือกันคู่ต่อสู้ไม่ให้ส่งลูกบอลได้สะดวกพร้อมทั้งพยายามดึง หรือแย่งลูกบอลไปครอบครอง


ตำแหน่ง Point Guard

Point Guard (PG) : ความคล่องตัวและว่องไว


ตำแหน่ง Point Guard (PG)
 

 

เมื่อเราพูดถึง PG เราจะนึกถึงคนเตี้ย ส่งลูกดี และว่องไว แต่ PG ไม่จำแต่ต้องเตี้ยเสมอไป PG เปรียบเสมือนเป็นผู้บังคับบัญชาของสนาม ตำแหน่งนี้จะเป็นตำแหน่งที่เล่นค่อนข้างยาก เพราะต้องเป็นตัวคุมเกม มีความสามารถในการส่งที่แม่นยำ หลอกล่อคู่ต่อสู้ เพื่อทำแต้มด้วยตัวเองหรือให้เพื่อนทำแต้ม  

 

ตำแหน่ง Point Guard จะแตกต่างออกไปจาก Guard ตรงที่จะไม่อยู่แต่บริเวณภายนอกเท่านั้นแต่จะเคลื่อนที่ไปทั่วสนาม เพื่อที่จะหลอกล่อคู่ต่อสู้และสร้างโอกาสให้กับทีมได้อยู่เสมอ รวมไปถึงการทำแต้มด้วยตัวเอง ทั้ง 2 แต้ม และ 3 แต้ม 

 

ตำแหน่ง PG มักใช้ผู้เล่นที่มีความสามารถสูงในการครองบอลและควบคุมบอล มีความเร็วและคล่องตัวมากที่สุดในบรรดาตำแหน่งทั้งหลาย ไม่ต้องใช้ความสูง เพราะอาจทำให้ไม่คล่องตัว 

 

ตำแหน่ง Point Guard จะมีความโดดเด่นในทางด้าน การส่งบอลให้กับเพื่อนร่วมทีมทำคะแนนและยังมีความสามารถในทางด้านการชู้ตใน ระยะ 3 แต้ม รวมไปถึงการแย่งบอลที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย ซึ่งทำให้ตำแหน่ง Point Guard นี้ เป็นหนึ่งตำแหน่งที่มีความหลายหลายในการเล่นในจังหวะต่างๆ ทำให้ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ทุกๆคนต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง


 

 

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ตำแหน่ง Shooting Guard

Shooting Guard (SG) : ความแม่นยำจากระยะไกล

ตำแหน่ง Shooting Guard (SG)

เป็นอีกตำแหน่งหนึ่งที่ต้องมีความสามารถรอบด้าน โดยเฉพาะการตำแต้มจากระยะไกลอย่างแม่นยำในกรณีที่ใต้แป้นมีการป้องกันที่ค่อนข้างเหนียวแน่น แต่ก็ยังคงความเป็น Guard อยู่ คือมีความคล่องตัวในการควบคุมรับส่งเลี้ยงบอล แม้จะไม่มากเท่า PG

ใช้ผู้เล่นที่มีความชำนาญในการทำแต้มจากระยะไกล มีความเร็วและคล่องตัว ทักษะการรับส่งบอลพอสมควร อาจไม่ต้องใช้ความสูงมาก

คนส่วนใหญ่คิดว่า เล่นตำแหน่งนี้เพราะว่า3แต้ม แม่น ไม่ใช่ครับ ตำแหน่งนี้จะเป็นตำแหน่งที่เหนื่อยเหมือนกัน เนื่องจากชู๊ตติ้งการ์ดต้องคอยวิ่งไปในที่ว่าง วิ่งผ่านคนสกรีน เมื่อท่านไม่มีลูกก็ต้องวิ่ง ตลอดเวลา เพื่อหาช่องว่างในการทำแต้ม


ตำแหน่งนี้เรียกได้ว่าเป็นเอสของทีมเป็นตำแหน่งที่มีความสามารถรอบด้าน สามารถในการทำแต้มระยะกลางจะเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นลักษณะ เฉพาะตัว Shooting Guard (SG) ไม่ได้จำกัดการเล่นแค่ภายนอกเส้น 3 แต้ม ถ้ามีโอกาสก็ทะลวงเข้าไปทำแต้มภายในได้ด้วยโดยสามารถชู้ตได้ไม่ว่าจะอยู่ ตำแหน่งไหนก็ตาม Shooting Guard (SG) ควรฝึกสกิลชู้ต 3แต้ม  Running และ Steal เป็นหลัก 





ตำแหน่ง Smaill Forward

Small Forward : ความหลากหลายและตัวกลาง

ตำแหน่ง Small Forward (SF)

เป็น ตำแหน่งที่มีความหลากหลายทางการเล่นมากที่สุด ทำได้ตั้งแต่การทำคะแนนอย่างรวดเร็ว จนถึงการรอ Rebound จากเพื่อน เรียกได้ว่าทำหน้าที่เชื่อมโยง Guard กับ Center ได้เลย SF ต้องเป็นตำแหน่งที่มีความเร็วและคล่องตัวกว่า PF และ C ในขณะที่ความสูงนั้นพอๆกับ SF บางที SF ก็ทำหน้าที่เหมือน PF บางครั้งอาจคล้าย SG เรียกว่าหลากหลายมาก

ควรใช้คนที่มีความสูงพอสมควรเพราะจะช่วยในการ Rebound ด้วย แต่ต้องมีคามคล่องแคล่วในระดับหนึ่ง และความแม่นยำในการทำคะแนนอีกด้วย
Small Forward  ผู้เล่นตำแหน่งนี้ จะคอยใช้ความรวดเร็วในการเคลื่อนไหว ทำหน้าที่เคลื่อนไหวไปมาตามช่องว่างที่สามารถเปิดโอกาสในการชู้ตหรือส่งบอลได้ และยึดครองพื้นที่ในจุดที่คาดว่าจะทำ Rebound ไปพร้อมกัน ดังนั้นจึงต้องคอยเคลื่อนที่ไปทั่วสนามอยู่ตลอดเวลา
 

การเล่นของตำแหน่ง Small Forward จะต่างกับของ Power Forward อยู่พอสมควร เพราะจะต้องเคลื่อนที่ไปมาเพื่อคอยแย่งบอลจากคู่แข่งจากในบริเวณกลางสนาม และทำหน้าที่เชื่อมระหว่าง Guard และ Center ด้วย นอกจากนี้การทำแต้มของ Small Forward จะทำแต้มจากส่วนกลาง และอาจจะร่วมไปถึงบริเวณ 3 แต้ม ด้วยเลยก็ได้ 

 

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ตำแหน่ง Power Forward

Power Forward : การประกบและเก็บตก

ตำแหน่ง Power Forward (PF)

หน้าที่ ในการเล่นตำแหน่งนี้มีไม่มาก ส่วนใหญ่จะมีบทบาททางด้านป้องกันมากกว่า PF จะอยู่ห่างแป้นไม่เกินสองเมตร คืออยู่ใต้แป้นตลอดเวลา ผู้เล่นตำแหน่งนี้ต้องมีความแข็งแกร่งพอสมควร การประกบผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามให้เข้ามาเล่นภายในแดนตนเองอย่างลำบากเป็น หน้าที่ของเขา เรียกว่าถ้า Center ไม่อยู่ เขาจะเป็น Center คนต่อไป การรุกจะไม่ค่อยทำแต้มด้วยตนเองมากนัก จะคอย Rebound ที่เรียกว่า เก็บตก ในกรณีที่เพื่อนยิงพลาดเสียมากกว่า

Power Forward เป็นตำแหน่งที่มีค่า Jump สูงที่สุด ผู้เล่นตำแหน่งนี้ค่อนข้างจะต้องมีความสูงและหนาพอสมควร ไม่ต้องการความคล่องตัวมากนัก มีความสามารถในการ Rebound สูง ความสามารถส่วนใหญ่จะเน้นไปทางทำแต้มจากใต้แป้น, การ Rebound และการ Dunk ที่สวยงาม จึงเป็นตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับ Center

ทักษะและฝีมือทางร่างกายที่PFต้อง การ
1.การรีบาวน์
2.สมรรถภาพทางร่างกาย
3.การเล่นโพสเพลย์และการทำแต้มรูปแบบอื่น
4.การป้องกัน
5.พื้นฐานสำคัญ การเลี้ยงลูก การส่งรับ การเลย์อัพ และอีกมากมายเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ




ตำแหน่ง Center

Center : ความหนาและความเหนียวแน่น

ตำแหน่ง Center (C)

การเล่นในตำแหน่งนี้จะใช้ความหนาของตนในการทำแต้มและบล็อคการบุกของฝ่ายตรงข้าม เพราะฉะนั้น ขนาดของผู้เล่นเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการเล่นในตำแหน่งนี้ ในเรื่องของความเร็ว ถ้ามีก็ไม่เสียหายแต่ไม่ได้จำเป็นมาก Center จะช่วยทำแต้มในเขตสองแต้มโดยอาศัยความแข็งแกร่ง Center จะเป็นตำแหน่งที่คอยสนับสุนนเพื่อนร่วมทีมในการเล่นบริเวณใต้แป้น ในการป้องกัน ก็ใช้ความแข็งแกร่งในการบล็อค และรักษาพื้นที่ไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำแต้มได้ เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องก็คือ การ Rebound

ส่วนใหญ่จะใช้ผู้เล่นที่สูงที่สุดในทีมในการเล่นตำแหน่งนี้ มีความหนาพอสมควรเพื่อใช้ในการกระแทกในการทำแต้ม และ Rebound ตำแหน่ง Center จะเป็นตำแหน่งที่มีส่วนสูงมากที่สุดในเกม ซึ่งทำให้ได้เปรียบตำแหน่งอื่นๆในเวลาเล่นลูกกลางอากาศ อีกทั้งยังมีความสามารถในการรีบาวน์ที่ยอดเยี่ยม ทำให้เวลาต่อสู้กันกลางอากาศทำให้ตำแหน่ง Center นั้นได้เปรียบต่อตำแหน่งอื่นๆมาก 

ทักษะทางร่างกายและฝีมือที่ Center ต้องมี
1.การป้องกัน
2.การรีบาวน์
3.การทำแต้ม (ใต้แป้น)
4.การบล็อค
 


วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

การยิงจุดโทษ

ในการยิงจุดโทษนั้นทำได้ก็ต่อเมื่ออีกทีมทำฟลาวในขณะที่เรากำลังชู้ต ถ้าเรากำลังชู้ต 2 แต้ม แล้วโดนทำฟลาว เราก็จะได้ยิงจุดโทษ 2 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งจะได้แค่เพียง 1 แต้มเท่านั้น แต่ถ้าเรากำลังชู้ต 3 แต้ม เราจะได้ยิงจุดโทษ 3 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็จะได้แค่เพียง 1 แต้มเหมือนกัน
    การยิงจุดโทษนั้นฟังดูแล้วอาจเหมือนทำได้ง่ายๆแต่ความจริงแล้วก็เหมือนกับการชู้ตธรรมดาเพียงแต่เราห้ามกระโดดเท่านั้นเอง ควรฝึกฝนการยิงจุดโทษให้สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการยิง
ในการแข่งขันเมื่อเราได้ยิงจุดโทษแม้จะได้มาแค่แต้มเดียวก็อาจจะทำให้ทีมชนะได้
ซึ่งวิธีการยิงจุดโทษมีดังต่อไปนี้
     1. ทำสมาธิ
     2. จับลูกบาสให้มั่นคง
     3. ย่อเข่าลงเล็กน้อย ยกบอลขึ้นเหนือศีรษะ มืออีกข้างประคองลูก
     4. ส่งแรงจากเท้า ลำตัว แขน และมือที่ใช้ชู้ต ตามลำดับ
     5. ใช้ปลายนิ้วในการบังคับทิศทาง




วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

การเลี้ยงบาส

           การเลี้ยงบาส คือ การเคลื่อนที่ของผู้เล่นโดยพาลูกบอลให้ผ่านจากการป้องกันจากฝ่ายตรงข้าม เพื่อหาตำแหน่งส่งบอลหรือทำคะแนน
           การเลี้ยงลูกเป็นการบังคับให้ลูกกระเด้งกับพื้นตลอดเวลา ผู้เล่นจะไม่ใช้มือตบลูกแต่จะใช้มือดันลูกไปหาพื้นแทนเนื่องจากควบคุมลูกได้ดีกว่า ในการเล่นกีฬาบาสเกตบอล การครอบครองลูกบอลไว้นั้นต้องไม่นานเกิน 5 วินาที ถ้าผู้เล่นยังต้องการครอบครองลูกบอลไว้อีก จึงจำเป็นต้องเลี้ยงลูกบอลเพื่อรอจังหวะการเล่นต่อไป
          เมื่อต้องเลี้ยงลูกผ่านคู่ ต่อสู้ ผู้เลี้ยงลูกควรเลี้ยงให้ลูกอยู่ห่างจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมากสุด ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องเลี้ยงลูกได้ทั้งสองมือ ด้วยการสลับมือเลี้ยงลูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก็เอื้อมมือถึงลูกได้ยากขึ้น และระหว่างที่สลับมือจะต้องเลี้ยงลูกให้ต่ำลงป้องกันการขโมยลูก ผู้เล่นอาจเปลี่ยนมือโดยเลี้ยงลูกลอดหว่างขาหรือไขว้หลังก็ได้
         ผู้เล่นที่ชำนาญสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ต้องมองลูก ซึ่งช่วยให้มองหาเพื่อนร่วมทีมหรือโอกาสการทำแต้ม และป้องกันการขโมยลูกจากผู้เล่นที่ยืนอยู่รอบ ๆ ได้ การเลี้ยงลูกบาสเกตบอลเป็นทักษะที่จำเป็นที่ผู้เล่นทุกคน

การเลี้ยงลูกบาสเกตบอล มี 2 แบบ ได้แก่
  1.การเลี้ยงลูกระดับสูง คือ การเลี้ยงลูกโดยทุ่มลูกให้สูงระดับเหนือเอวขึ้นมา แต่ไม่ควรเกินหัวไหล่ จะ ทำให้ควบคุมทิศทางลูกบอลยาก ใช้กับการเคลื่อนที่ในทิศทางตรง เช่น การวิ่งเลี้ยงลูก ทำได้โดย
       1.1 ยืนในท่าทรงตัวแบบเท้านำเท้าตาม ให้ลำตัว ศีรษะโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
       1.2 ใช้มือข้างที่ครอบครองลูกบอลข้างเดียวกดลูกบอลทุ่มลงกับพื้น โดยใช้ข้อมือกระดก
          ขึ้นกดลูกบอลติดต่อกัน เพื่อควบคุมทิศทางและความสูง ต่ำของลูกบอลด้วยนิ้วมือ ทั้ง ๕ นิ้ว
          ให้ ลูกบอลกระดอนสูงระดับเอว แต่ไม่เกินระดับไหล่
       1.3 ใช้มือบังคับลูกบอลเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ

   2.การเลี้ยงลูกระดับต่ำ คือ การเลี้ยงลูกโดยทุ่มลูกบอลต่ำกว่าเอวลงไป คือประมาณความสูงระดับเข่า ใช้สำหรับการเคลื่อนที่หลบหลีกคู่ต่อสู้หรือใช้เลี้ยงในพื้นที่แคบ อาจใช้การเคลื่อนที่โดยการก้าวเท้าตามกัน (Slide) การเลี้ยงระดับนี้จะควบคุมลูกได้ดี สามารถพาลูกไปกับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว ทำได้โดย
        2.1 ยืนเตรียมพร้อมในลักษณะเท้านำเท้าตาม ย่อเข่าโดยโน้มตัวไปข้างหน้า ให้ศีรษะ และไหล่
             ก้มต่ำลง ตามองไปข้างหน้า
        2.2 กางนิ้วมือออกพร้อมกับใช้ข้อมือ กดลูกบอลให้กระดอนขึ้นลงในระดับเข่า และ เคลื่อนที่ไปใน
              ทิศทางที่ต้องการ








วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การ lay up

           การ lay up หรือ การวิ่งกระโดดทำแต้ม เป็นอีกหนึ่งวิธีในการทำแต้มซึ่งจะแตกต่างจากการยืนชู้ตอย่างสิ้นเชิง การ lay up เป็นทักษะพื้นฐานที่ยากกว่าการทำแต้มแบบอื่นๆ แต่จะเป็นวิธีการทำแต้มที่รวดเร็วและสามารถเข้าใกล้ห่วงประตูได้มากที่สุด การที่จะเข้าไป lay up นั้นควรมีทักษะการเลี้ยงและการวิ่งที่ชำนาญ 
วิธีการ lay up โดยคร่าวๆ
1. จับลูกบาสให้มั่นคง
2. เริ่มก้าวขาข้างที่ถนัดก่อน
3. ก้าวต่อไปเป็นก้าวที่สอง แล้วทำการกระโดดลอยตัว
4. ยกเข่าขึ้นพอประมาณ และยกแขนขึ้นให้สุด
5. ปล่อยลูกลงห่วง หรือกระแทกกับแป้นให้ลงห่วง
6. เมื่อถึงพื้นควรย่อตัวลงเพื่อลดแรงกระแทก เพื่อไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ
หมายเหตุ : การ lay up ห้ามวิ่งเกิน 3 ก้าว ไม่งั้นจะเป็นการผิดกติกาบาสเกตบอล



 

 





วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

การส่งบอล

          การส่งบอลในกีฬาบาสเกตบอลเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้ทีมชนะได้ เพราะฉะนั้นเราก็ควรให้ความสำคัญในการฝึกฝนการส่งบอล ในกีฬาบาสเกตบอลการที่จะเลี้ยงลูกไปยังฝ่ายตรงข้ามได้ด้วยตัวคนเดียวนั้นต้องใช้ทักษะเป็นอย่างมากซึ่งผู้เล่นที่พึ่งจะหัดเล่นก็ต้องใช้ทักษะในการส่งเข้ามาช่วยจึงจะทำให้การเล่นประสบความสำเร็จได้
         การส่งลูกบาสเกตบอลมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบนำมาใช้ในการเล่นบาสเกตบอลได้เป็นอย่างดี จะใช้แบบไหนช่วงไหนก็อยู่ที่สถานการณ์ของการเล่น ที่จะสอนในวันนี้จะเป็นสองวิธีง่ายๆในการส่งบอล คือ
1. การส่งแบบสองมือระดับอก
        การส่งลูกบาสเกตบอลสองมือระดับอก  เป็นวิธีการส่งที่ใช้กันมากที่สุดในการแข่งขัน เพราะส่งได้รวดเร็วและแม่นยำทั้งในระยะใกล้และระยะห่างกันปานกลาง
1.1 จับลูกบอลด้วยมือทั้งสองระดับอกห่างตัวเล็กน้อย 
1.2 หักข้อมือทั้งสองขึ้นเล็กน้อย
1.3 ผลักบอลด้วยการเหยียดแขนและตวัดข้อมือลง  ผลักด้วยปลายนิ้ว 


 2. การส่งแบบสองมือกระดอนพื้น
          การส่งลูกกระดอนพื้นนี้ใช้เพื่อหลบหลีกจากฝ่ายที่พยายามเข้ามาสกัดกั้นและแย่งลูกบอล การส่งลูกบอลวิธีนี้จะสามารถผ่านการป้องกันของฝ่ายตรงข้ามได้ เพราะการส่งลูกแบบ
กระดอนพื้นเป็นการส่งที่คู่ต่อสู้ป้องกันได้ยาก
 

2.1 จับลูกบอลด้วยมือทั้งสองระดับอกห่างตัวเล็กน้อย
2.2 หักข้อมือทั้งสองขึ้นเล็กน้อย 
2.3 ผลักลูกบอลด้วยการเหยียดแขนและตวัดข้อมือลง ผลักด้วยปลายนิ้วให้กระทบพื้นสองในสามของระยะทางให้กระดอนขึ้นระดับดับอกของผู้รับ 


   

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การ shoot


         การทำแต้มในกีฬาบาสเกตบอลนั้นทำได้หลายแบบ ซึ่งการชู้ตก็เป็นการทำแต้มอย่างหนึ่ง
สำหรับกีฬาบาสเกตบอล การยิงประตูถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ เพราะถ้าหากยิงประตูไม่ได้ก็จะ
ไม่ได้คะแนน ถึงจะเลี้ยงบอลได้อย่างคล่องแคล่ว หรือส่งบอลได้อย่างแม่นยำ แต่ยิงประตูไม่ได้
ก็ไม่ชนะการแข่งขันครับ

    การ Shoot แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.การยืน Shoot
   1.1 ถือบอล แล้วก้าวเท้าเดียวกับมือที่ใช้ชู้ตลูกตามความถนัด
   1.2 ย่อเข่าลงเล็กน้อย ยกบอลขึ้นเหนือศีรษะ มืออีกข้างประคองลูก
   1.3 ส่งแรงจากเท้า ลำตัว แขน และมือที่ใช้ชู้ต ตามลำดับ
   1.4 ใช้ปลายนิ้วในการบังคับทิศทาง
2.การกระโดด Shoot
   2.1 ถือบอล แล้วก้าวเท้าเดียวกับมือที่ใช้ชู้ตลูกตามความถนัด
   2.2 ย่อเข่าลงเพื่อส่งแรง ยกบอลขึ้นเหนือศีรษะ มืออีกข้างประคองลูก
   2.3 ส่งแรงจากเท้า ลำตัว แขน และมือที่ใช้ชู้ต ตามลำดับ
   2.4 กระโดดขึ้นและส่งแรงจากปลายนิ้วควบคุมทิ้งทางให้ตรงห่วง

การ Shoot ให้แม่นยำต้องใช้การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ชู้ตให้เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องเกร็ง
เล่นครั้งแรกไม่มีใครสามารถชู้ตลงทุกลูกได้ ต้องใช้การฝึกฝนอยู่เป็นประจำนะครับ ....





วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การ Warm Up

        วันนี้ผมจะมาอธิบายเกี่ยวกับการอบอุ่นร่างกาย หรือการ Warm Up นั่นเอง
ซึ่งการ Warm Up ก็คือการยืดเส้นยืดสายเพื่อเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมก่อน
การเล่นกีฬาซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อไม่บาดเจ็บ และทำให้ความเร็วในการเคลื่อนไหวดีขึ้น

การยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังเล่นกีฬา : บาสเก็ตบอล 
  1 การยืดกล้ามเนื้อคอ ห้ามหักโหม
  2 การยืดกล้ามเนื้อลำตัว ประมาณ 10 วินาที
  3 การยืดกล้ามเนื้อไหล่ แขน ประมาณ 15 วินาที
  4 การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลัง ประมาณ 30 วินาที
  5 การยืดกล้ามเนื้อโคนขาและหลัง ประมาณ 40 วินาที
  6 การยืดกล้ามเนื้อโคนขาพับใน
  7 การยืดกล้ามเนื้อต้นคอ ประมาณ 3-4 ครั้ง
  8 การยืดกล้ามเนื้อขาอ่อนด้านหน้า
  9 การยืดกล้ามเนื้อขาอ่อนพับในส่วนบนและหลัง



                                                                               Credit : http://www.trueplookpanya.com 

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กฎและกติกา

     วันนี้ผมจะมาอธิบายกฎและกติกาของการเล่นบาสเกตบอลแบบคร่าวๆนะครับ  
   
             บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นระหว่างผู้เล่น 2 ทีม ทีมละ 5 คน โดยมีจุดมุ่งหมายว่า แต่ละทีมต้องนำลูกบอลไปโยนให้ลงห่วงประตูของคู่แข่งขัน และพยายามป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ครอบครองลูกบอล หรือทำคะแนน ทั้งนี้ผู้เล่นอาจจะส่ง โยน ปัด หรือเลี้ยงลูกบอลไปยังทิศทางใดก็ได้ให้ถูกต้องตามกติกา   คือ

1. ผู้เล่นห้ามถือลูกบอลแล้ววิ่ง

2. ผู้เล่นจะส่งบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้

3. ผู้เล่นจะเลี้ยงบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้

4. ผู้เล่นต้องใช้มือทั้งสองเข้าครอบครองบอล ห้ามใช้ร่างกายช่วยในการครอบครองบอล

5. ในการเล่นจะใช้ไหล่กระแทก หรือใช้มือดึง ผลัก ตี หรือทำการใดๆให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลงไม่ได้ ถ้าผู้เล่นฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง ถ้า ฟาวล์ 2 ครั้ง หมดสิทธิ์เล่น จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำประตูกันได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บระหว่างการแข่งขัน จะไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น

6. ห้ามใช้ขาหรือเท้าแตะลูก ถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง

7. ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู

8. ประตูที่ทำได้หรือนับว่าได้ประตูนั้น ต้องเป็นการโยนบอลให้ลงห่วง ฝ่ายป้องกันจะไปยุ่งเกี่ยวกับประตูไม่ได้เด็ดขาด

9. เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำลูกบอลออกนอกสนาม ให้อีกฝ่ายหนึ่งส่งลูกเข้ามาจากขอบสนามภายใน 5 วินาที ถ้าเกิน 5 วินาที ให้เปลี่ยนส่ง และถ้าผู้เล่นฝ่ายใดพยายามถ่วงเวลาอยู่เสมอให้ปรับเป็นฟาวล์

10. การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ครึ่งๆละ 20 นาที

11. ฝ่ายที่ทำประตูได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ ในกรณีคะแนนเท่ากันให้ต่อเวลาออกไป และถ้าฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนถือว่าเป็นฝ่ายชนะ




วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Welcome

Hello !! สวัสดีเพื่อนๆชาว Blogger ทุกคนครับ

            ผมชื่อ จิรายุส เทพศิลวิริยะ (เจมส์)Blog นี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ พื้นฐานการเล่นบาสเกตบอล นะครับ จะมีทั้งภาพและคลิปวีดีโอ สอนพื้นฐาน และกฎกติกาในการเล่น หากเนื้อหาที่ผมเขียนผิดพลาดประการใด กรุณาติชมกันได้ครับ
      
    ฝากติดตาม Blog นี้กันด้วยนะครับ ...
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์