วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

การเล่นบุกทำคะแนน

การเล่นบุกทำคะแนน

              การเล่นบุกทำคะแนนมีหลากหลายกว่า เกี่ยวข้องกับแผนการส่งลูก และการเคลื่อนไหวของผู้เล่นที่ไม่ถือลูก การคัท (cut) หรือวิ่งตัด คือการที่ผู้เล่นที่ไม่มีลูกวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังตำแหน่งที่ได้เปรียบ การสกรีน (screen) หรือ พิก (pick) คือการที่ผู้เล่นฝ่ายบุกยืนขวางทางผู้เล่นฝ่ายรับที่ประกบเพื่อนร่วมทีมใน ขณะที่เพื่อนร่วมทีมนั้นวิ่งตัดข้างๆ เขา การเล่นสองแบบนี้สามารถรวมเข้าเป็นพิกแอนด์โรล (pick and roll) โดยที่ผู้เล่นคนแรกทำพิกจากนั้นก็หมุนตัววิ่งเข้าหาห่วง (ซึ่งเรียกว่าโรล) สกรีน และ คัท เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ทำให้ส่งลูกและทำคะแนนได้สำเร็จ ทีมมักมีแผนการเล่นที่หลากหลายเพื่อให้อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาการเล่นได้ ในสนามผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีหน้าที่บอกแผนการเล่นที่จะใช้ให้กับ เพื่อนร่วมทีม

วิธีการบุก
1. การรุกเร็วหรือการลักไก่ (Fast Break Attack) ใช้ในโอกาสที่ฝ่ายตรงข้ามที่ไปตั้งรับไม่ทันอาศัยทักษะเฉพาะตัวและการประสานงานในทีม พาลูดทีมไปยิงประตูฝ่ายตรงข้ามได้อย่างรวดเร็ว การรุกแบบรวดเร็วสนามจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนเท่ากัน ตามแนวเส้นข้างตั้งฉากกับเส้นหลัง เนื่องจากการรุกเร็วสามารถรุกเข้าห่วงประตูทั้ง 3 ส่วนของสนามพร้อมกันในเวลาเดียวกัน จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามป้องกันได้ยากขึ้น

2. การรุกช้า (Slow or deliberate Attack) การรุกช้าเป็นยุทธวิธีอีกวิธีหนึ่ง ที่ใช้กรณีฝ่ายตรงข้ามสามารถถอยป้องกันได้ทัน ทำให้ความสามารถในการพาลูกบอลเข้าไปยิงประตูฝ่ายตรงข้ามช้าลงหรือยากขึ้น จึงจำเป็นต้องหารูปแบบยุทธวิธีในการรุก โดยสังเกตุจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้ามในการป้องกัน เพื่อนำรูปแบบการรุกของทีมมาใช้อย่างเหมาะสม
 



การเล่นตั้งรับ

การเล่นตั้งรับ

            การเล่นตั้งรับ มีหลักการแตกต่างกันสองรูปแบบ คือ ตั้งรับแบบโซน (zone defense) และ แบบแมน-ทู-แมน (man-to-man defense) การตั้งรับแบบโซน ผู้เล่นจะยืนคุมผู้เล่นฝ่ายบุกที่อยู่ในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ ส่วนแบบ แมน-ทู-แมน นั้น ผู้เล่นฝ่ายรับแต่ละคนจะยืนคุมและป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่โค้ชวางแผน การเล่นเอาไว้

การตั้งรับแบบโซนมีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่
1. การตั้งรับแบบ 2-1-2
            นิยมเล่นกันมาก เพราะสามรถเปลี่ยนสภาพของรูปแบบได้ง่าย โดยการเครลื่อนที่ของคนกลางขึ้นหรือลงเพียงคนเดียวเท่านั้นก็จะทำให้รูปแบบเปลี่ยนไป การตั้งรับแบบนี้มักใช้กับทีมตรงข้ามที่เก่งในการส่งบอลวงนอก ซึ่งสามารถป้องกันพื้นที่เขตโทษได้ดี และป้องกันการยิงประตูในระยะไกล การตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่น 2 คน อยู่กลาง 1 คน และอยู่หลัง 2 คน โดยแต่ละคนจะต้องคอยดูแลรับผิดชอบพื้นที่ของตน


2. การตั้งรับแบบ 1-2-2
            เป็นการป้องกันการยิงประตูในระยะไกลบริเวณหัวกระโหลดของเขตโทษได้ดีแต่ด้อยในการป้องกันฝ่ายตรงข้ามที่รุกใต้แป้น และการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่ 1 คน อยู่กลาง 2 คน อยู่หลัง 2 คน คอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน


3. การตั้งรับแบบ 3-2
            ใช้เมื่อผู้เล่นศูนย์หน้าและผู้เล่นหลัง หรือการ์ด 2 คน ยิงประตูวงนอกได้แม่นยำ แต่ขาดประสิทธิภาพในการรุกใต้แป้นโดยการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่หน้า 3 คน และอยู่หลัง 2 คน คอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน


4. การตั้งรับแบบ 2-3
            มักใช้กับทีมตรงข้ามที่มีความสามารถรุกใต้แป้นได้ดี โดยการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่หน้า 2 คน และอยู่หลัง 3 คน คอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน


การป้องกันแบบ แมน-ทู-แมน มีวิธีปฏิบัติดังนี้
1. ยืนเตรียมพร้อม และเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของผ่ายรุก และต้องติดตามไปเป็นเงาตามตัวพยายามขวางทิศทางการเคลื่อนที่ของคู่แข่งขัน
2. สายตาจะต้องจับจ้องอยู่ที่ลูกบอล และคู่แข่งขันตลอดเวลา
3. ยกมือกันคู่ต่อสู้ไม่ให้ส่งลูกบอลได้สะดวกพร้อมทั้งพยายามดึง หรือแย่งลูกบอลไปครอบครอง


ตำแหน่ง Point Guard

Point Guard (PG) : ความคล่องตัวและว่องไว


ตำแหน่ง Point Guard (PG)
 

 

เมื่อเราพูดถึง PG เราจะนึกถึงคนเตี้ย ส่งลูกดี และว่องไว แต่ PG ไม่จำแต่ต้องเตี้ยเสมอไป PG เปรียบเสมือนเป็นผู้บังคับบัญชาของสนาม ตำแหน่งนี้จะเป็นตำแหน่งที่เล่นค่อนข้างยาก เพราะต้องเป็นตัวคุมเกม มีความสามารถในการส่งที่แม่นยำ หลอกล่อคู่ต่อสู้ เพื่อทำแต้มด้วยตัวเองหรือให้เพื่อนทำแต้ม  

 

ตำแหน่ง Point Guard จะแตกต่างออกไปจาก Guard ตรงที่จะไม่อยู่แต่บริเวณภายนอกเท่านั้นแต่จะเคลื่อนที่ไปทั่วสนาม เพื่อที่จะหลอกล่อคู่ต่อสู้และสร้างโอกาสให้กับทีมได้อยู่เสมอ รวมไปถึงการทำแต้มด้วยตัวเอง ทั้ง 2 แต้ม และ 3 แต้ม 

 

ตำแหน่ง PG มักใช้ผู้เล่นที่มีความสามารถสูงในการครองบอลและควบคุมบอล มีความเร็วและคล่องตัวมากที่สุดในบรรดาตำแหน่งทั้งหลาย ไม่ต้องใช้ความสูง เพราะอาจทำให้ไม่คล่องตัว 

 

ตำแหน่ง Point Guard จะมีความโดดเด่นในทางด้าน การส่งบอลให้กับเพื่อนร่วมทีมทำคะแนนและยังมีความสามารถในทางด้านการชู้ตใน ระยะ 3 แต้ม รวมไปถึงการแย่งบอลที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย ซึ่งทำให้ตำแหน่ง Point Guard นี้ เป็นหนึ่งตำแหน่งที่มีความหลายหลายในการเล่นในจังหวะต่างๆ ทำให้ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ทุกๆคนต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง


 

 

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ตำแหน่ง Shooting Guard

Shooting Guard (SG) : ความแม่นยำจากระยะไกล

ตำแหน่ง Shooting Guard (SG)

เป็นอีกตำแหน่งหนึ่งที่ต้องมีความสามารถรอบด้าน โดยเฉพาะการตำแต้มจากระยะไกลอย่างแม่นยำในกรณีที่ใต้แป้นมีการป้องกันที่ค่อนข้างเหนียวแน่น แต่ก็ยังคงความเป็น Guard อยู่ คือมีความคล่องตัวในการควบคุมรับส่งเลี้ยงบอล แม้จะไม่มากเท่า PG

ใช้ผู้เล่นที่มีความชำนาญในการทำแต้มจากระยะไกล มีความเร็วและคล่องตัว ทักษะการรับส่งบอลพอสมควร อาจไม่ต้องใช้ความสูงมาก

คนส่วนใหญ่คิดว่า เล่นตำแหน่งนี้เพราะว่า3แต้ม แม่น ไม่ใช่ครับ ตำแหน่งนี้จะเป็นตำแหน่งที่เหนื่อยเหมือนกัน เนื่องจากชู๊ตติ้งการ์ดต้องคอยวิ่งไปในที่ว่าง วิ่งผ่านคนสกรีน เมื่อท่านไม่มีลูกก็ต้องวิ่ง ตลอดเวลา เพื่อหาช่องว่างในการทำแต้ม


ตำแหน่งนี้เรียกได้ว่าเป็นเอสของทีมเป็นตำแหน่งที่มีความสามารถรอบด้าน สามารถในการทำแต้มระยะกลางจะเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นลักษณะ เฉพาะตัว Shooting Guard (SG) ไม่ได้จำกัดการเล่นแค่ภายนอกเส้น 3 แต้ม ถ้ามีโอกาสก็ทะลวงเข้าไปทำแต้มภายในได้ด้วยโดยสามารถชู้ตได้ไม่ว่าจะอยู่ ตำแหน่งไหนก็ตาม Shooting Guard (SG) ควรฝึกสกิลชู้ต 3แต้ม  Running และ Steal เป็นหลัก 





ตำแหน่ง Smaill Forward

Small Forward : ความหลากหลายและตัวกลาง

ตำแหน่ง Small Forward (SF)

เป็น ตำแหน่งที่มีความหลากหลายทางการเล่นมากที่สุด ทำได้ตั้งแต่การทำคะแนนอย่างรวดเร็ว จนถึงการรอ Rebound จากเพื่อน เรียกได้ว่าทำหน้าที่เชื่อมโยง Guard กับ Center ได้เลย SF ต้องเป็นตำแหน่งที่มีความเร็วและคล่องตัวกว่า PF และ C ในขณะที่ความสูงนั้นพอๆกับ SF บางที SF ก็ทำหน้าที่เหมือน PF บางครั้งอาจคล้าย SG เรียกว่าหลากหลายมาก

ควรใช้คนที่มีความสูงพอสมควรเพราะจะช่วยในการ Rebound ด้วย แต่ต้องมีคามคล่องแคล่วในระดับหนึ่ง และความแม่นยำในการทำคะแนนอีกด้วย
Small Forward  ผู้เล่นตำแหน่งนี้ จะคอยใช้ความรวดเร็วในการเคลื่อนไหว ทำหน้าที่เคลื่อนไหวไปมาตามช่องว่างที่สามารถเปิดโอกาสในการชู้ตหรือส่งบอลได้ และยึดครองพื้นที่ในจุดที่คาดว่าจะทำ Rebound ไปพร้อมกัน ดังนั้นจึงต้องคอยเคลื่อนที่ไปทั่วสนามอยู่ตลอดเวลา
 

การเล่นของตำแหน่ง Small Forward จะต่างกับของ Power Forward อยู่พอสมควร เพราะจะต้องเคลื่อนที่ไปมาเพื่อคอยแย่งบอลจากคู่แข่งจากในบริเวณกลางสนาม และทำหน้าที่เชื่อมระหว่าง Guard และ Center ด้วย นอกจากนี้การทำแต้มของ Small Forward จะทำแต้มจากส่วนกลาง และอาจจะร่วมไปถึงบริเวณ 3 แต้ม ด้วยเลยก็ได้ 

 

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ตำแหน่ง Power Forward

Power Forward : การประกบและเก็บตก

ตำแหน่ง Power Forward (PF)

หน้าที่ ในการเล่นตำแหน่งนี้มีไม่มาก ส่วนใหญ่จะมีบทบาททางด้านป้องกันมากกว่า PF จะอยู่ห่างแป้นไม่เกินสองเมตร คืออยู่ใต้แป้นตลอดเวลา ผู้เล่นตำแหน่งนี้ต้องมีความแข็งแกร่งพอสมควร การประกบผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามให้เข้ามาเล่นภายในแดนตนเองอย่างลำบากเป็น หน้าที่ของเขา เรียกว่าถ้า Center ไม่อยู่ เขาจะเป็น Center คนต่อไป การรุกจะไม่ค่อยทำแต้มด้วยตนเองมากนัก จะคอย Rebound ที่เรียกว่า เก็บตก ในกรณีที่เพื่อนยิงพลาดเสียมากกว่า

Power Forward เป็นตำแหน่งที่มีค่า Jump สูงที่สุด ผู้เล่นตำแหน่งนี้ค่อนข้างจะต้องมีความสูงและหนาพอสมควร ไม่ต้องการความคล่องตัวมากนัก มีความสามารถในการ Rebound สูง ความสามารถส่วนใหญ่จะเน้นไปทางทำแต้มจากใต้แป้น, การ Rebound และการ Dunk ที่สวยงาม จึงเป็นตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับ Center

ทักษะและฝีมือทางร่างกายที่PFต้อง การ
1.การรีบาวน์
2.สมรรถภาพทางร่างกาย
3.การเล่นโพสเพลย์และการทำแต้มรูปแบบอื่น
4.การป้องกัน
5.พื้นฐานสำคัญ การเลี้ยงลูก การส่งรับ การเลย์อัพ และอีกมากมายเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ




ตำแหน่ง Center

Center : ความหนาและความเหนียวแน่น

ตำแหน่ง Center (C)

การเล่นในตำแหน่งนี้จะใช้ความหนาของตนในการทำแต้มและบล็อคการบุกของฝ่ายตรงข้าม เพราะฉะนั้น ขนาดของผู้เล่นเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการเล่นในตำแหน่งนี้ ในเรื่องของความเร็ว ถ้ามีก็ไม่เสียหายแต่ไม่ได้จำเป็นมาก Center จะช่วยทำแต้มในเขตสองแต้มโดยอาศัยความแข็งแกร่ง Center จะเป็นตำแหน่งที่คอยสนับสุนนเพื่อนร่วมทีมในการเล่นบริเวณใต้แป้น ในการป้องกัน ก็ใช้ความแข็งแกร่งในการบล็อค และรักษาพื้นที่ไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำแต้มได้ เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องก็คือ การ Rebound

ส่วนใหญ่จะใช้ผู้เล่นที่สูงที่สุดในทีมในการเล่นตำแหน่งนี้ มีความหนาพอสมควรเพื่อใช้ในการกระแทกในการทำแต้ม และ Rebound ตำแหน่ง Center จะเป็นตำแหน่งที่มีส่วนสูงมากที่สุดในเกม ซึ่งทำให้ได้เปรียบตำแหน่งอื่นๆในเวลาเล่นลูกกลางอากาศ อีกทั้งยังมีความสามารถในการรีบาวน์ที่ยอดเยี่ยม ทำให้เวลาต่อสู้กันกลางอากาศทำให้ตำแหน่ง Center นั้นได้เปรียบต่อตำแหน่งอื่นๆมาก 

ทักษะทางร่างกายและฝีมือที่ Center ต้องมี
1.การป้องกัน
2.การรีบาวน์
3.การทำแต้ม (ใต้แป้น)
4.การบล็อค
 


วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

การยิงจุดโทษ

ในการยิงจุดโทษนั้นทำได้ก็ต่อเมื่ออีกทีมทำฟลาวในขณะที่เรากำลังชู้ต ถ้าเรากำลังชู้ต 2 แต้ม แล้วโดนทำฟลาว เราก็จะได้ยิงจุดโทษ 2 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งจะได้แค่เพียง 1 แต้มเท่านั้น แต่ถ้าเรากำลังชู้ต 3 แต้ม เราจะได้ยิงจุดโทษ 3 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็จะได้แค่เพียง 1 แต้มเหมือนกัน
    การยิงจุดโทษนั้นฟังดูแล้วอาจเหมือนทำได้ง่ายๆแต่ความจริงแล้วก็เหมือนกับการชู้ตธรรมดาเพียงแต่เราห้ามกระโดดเท่านั้นเอง ควรฝึกฝนการยิงจุดโทษให้สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการยิง
ในการแข่งขันเมื่อเราได้ยิงจุดโทษแม้จะได้มาแค่แต้มเดียวก็อาจจะทำให้ทีมชนะได้
ซึ่งวิธีการยิงจุดโทษมีดังต่อไปนี้
     1. ทำสมาธิ
     2. จับลูกบาสให้มั่นคง
     3. ย่อเข่าลงเล็กน้อย ยกบอลขึ้นเหนือศีรษะ มืออีกข้างประคองลูก
     4. ส่งแรงจากเท้า ลำตัว แขน และมือที่ใช้ชู้ต ตามลำดับ
     5. ใช้ปลายนิ้วในการบังคับทิศทาง




วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

การเลี้ยงบาส

           การเลี้ยงบาส คือ การเคลื่อนที่ของผู้เล่นโดยพาลูกบอลให้ผ่านจากการป้องกันจากฝ่ายตรงข้าม เพื่อหาตำแหน่งส่งบอลหรือทำคะแนน
           การเลี้ยงลูกเป็นการบังคับให้ลูกกระเด้งกับพื้นตลอดเวลา ผู้เล่นจะไม่ใช้มือตบลูกแต่จะใช้มือดันลูกไปหาพื้นแทนเนื่องจากควบคุมลูกได้ดีกว่า ในการเล่นกีฬาบาสเกตบอล การครอบครองลูกบอลไว้นั้นต้องไม่นานเกิน 5 วินาที ถ้าผู้เล่นยังต้องการครอบครองลูกบอลไว้อีก จึงจำเป็นต้องเลี้ยงลูกบอลเพื่อรอจังหวะการเล่นต่อไป
          เมื่อต้องเลี้ยงลูกผ่านคู่ ต่อสู้ ผู้เลี้ยงลูกควรเลี้ยงให้ลูกอยู่ห่างจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมากสุด ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องเลี้ยงลูกได้ทั้งสองมือ ด้วยการสลับมือเลี้ยงลูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก็เอื้อมมือถึงลูกได้ยากขึ้น และระหว่างที่สลับมือจะต้องเลี้ยงลูกให้ต่ำลงป้องกันการขโมยลูก ผู้เล่นอาจเปลี่ยนมือโดยเลี้ยงลูกลอดหว่างขาหรือไขว้หลังก็ได้
         ผู้เล่นที่ชำนาญสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ต้องมองลูก ซึ่งช่วยให้มองหาเพื่อนร่วมทีมหรือโอกาสการทำแต้ม และป้องกันการขโมยลูกจากผู้เล่นที่ยืนอยู่รอบ ๆ ได้ การเลี้ยงลูกบาสเกตบอลเป็นทักษะที่จำเป็นที่ผู้เล่นทุกคน

การเลี้ยงลูกบาสเกตบอล มี 2 แบบ ได้แก่
  1.การเลี้ยงลูกระดับสูง คือ การเลี้ยงลูกโดยทุ่มลูกให้สูงระดับเหนือเอวขึ้นมา แต่ไม่ควรเกินหัวไหล่ จะ ทำให้ควบคุมทิศทางลูกบอลยาก ใช้กับการเคลื่อนที่ในทิศทางตรง เช่น การวิ่งเลี้ยงลูก ทำได้โดย
       1.1 ยืนในท่าทรงตัวแบบเท้านำเท้าตาม ให้ลำตัว ศีรษะโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
       1.2 ใช้มือข้างที่ครอบครองลูกบอลข้างเดียวกดลูกบอลทุ่มลงกับพื้น โดยใช้ข้อมือกระดก
          ขึ้นกดลูกบอลติดต่อกัน เพื่อควบคุมทิศทางและความสูง ต่ำของลูกบอลด้วยนิ้วมือ ทั้ง ๕ นิ้ว
          ให้ ลูกบอลกระดอนสูงระดับเอว แต่ไม่เกินระดับไหล่
       1.3 ใช้มือบังคับลูกบอลเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ

   2.การเลี้ยงลูกระดับต่ำ คือ การเลี้ยงลูกโดยทุ่มลูกบอลต่ำกว่าเอวลงไป คือประมาณความสูงระดับเข่า ใช้สำหรับการเคลื่อนที่หลบหลีกคู่ต่อสู้หรือใช้เลี้ยงในพื้นที่แคบ อาจใช้การเคลื่อนที่โดยการก้าวเท้าตามกัน (Slide) การเลี้ยงระดับนี้จะควบคุมลูกได้ดี สามารถพาลูกไปกับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว ทำได้โดย
        2.1 ยืนเตรียมพร้อมในลักษณะเท้านำเท้าตาม ย่อเข่าโดยโน้มตัวไปข้างหน้า ให้ศีรษะ และไหล่
             ก้มต่ำลง ตามองไปข้างหน้า
        2.2 กางนิ้วมือออกพร้อมกับใช้ข้อมือ กดลูกบอลให้กระดอนขึ้นลงในระดับเข่า และ เคลื่อนที่ไปใน
              ทิศทางที่ต้องการ








วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

การ lay up

           การ lay up หรือ การวิ่งกระโดดทำแต้ม เป็นอีกหนึ่งวิธีในการทำแต้มซึ่งจะแตกต่างจากการยืนชู้ตอย่างสิ้นเชิง การ lay up เป็นทักษะพื้นฐานที่ยากกว่าการทำแต้มแบบอื่นๆ แต่จะเป็นวิธีการทำแต้มที่รวดเร็วและสามารถเข้าใกล้ห่วงประตูได้มากที่สุด การที่จะเข้าไป lay up นั้นควรมีทักษะการเลี้ยงและการวิ่งที่ชำนาญ 
วิธีการ lay up โดยคร่าวๆ
1. จับลูกบาสให้มั่นคง
2. เริ่มก้าวขาข้างที่ถนัดก่อน
3. ก้าวต่อไปเป็นก้าวที่สอง แล้วทำการกระโดดลอยตัว
4. ยกเข่าขึ้นพอประมาณ และยกแขนขึ้นให้สุด
5. ปล่อยลูกลงห่วง หรือกระแทกกับแป้นให้ลงห่วง
6. เมื่อถึงพื้นควรย่อตัวลงเพื่อลดแรงกระแทก เพื่อไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ
หมายเหตุ : การ lay up ห้ามวิ่งเกิน 3 ก้าว ไม่งั้นจะเป็นการผิดกติกาบาสเกตบอล



 

 





วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

การส่งบอล

          การส่งบอลในกีฬาบาสเกตบอลเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้ทีมชนะได้ เพราะฉะนั้นเราก็ควรให้ความสำคัญในการฝึกฝนการส่งบอล ในกีฬาบาสเกตบอลการที่จะเลี้ยงลูกไปยังฝ่ายตรงข้ามได้ด้วยตัวคนเดียวนั้นต้องใช้ทักษะเป็นอย่างมากซึ่งผู้เล่นที่พึ่งจะหัดเล่นก็ต้องใช้ทักษะในการส่งเข้ามาช่วยจึงจะทำให้การเล่นประสบความสำเร็จได้
         การส่งลูกบาสเกตบอลมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบนำมาใช้ในการเล่นบาสเกตบอลได้เป็นอย่างดี จะใช้แบบไหนช่วงไหนก็อยู่ที่สถานการณ์ของการเล่น ที่จะสอนในวันนี้จะเป็นสองวิธีง่ายๆในการส่งบอล คือ
1. การส่งแบบสองมือระดับอก
        การส่งลูกบาสเกตบอลสองมือระดับอก  เป็นวิธีการส่งที่ใช้กันมากที่สุดในการแข่งขัน เพราะส่งได้รวดเร็วและแม่นยำทั้งในระยะใกล้และระยะห่างกันปานกลาง
1.1 จับลูกบอลด้วยมือทั้งสองระดับอกห่างตัวเล็กน้อย 
1.2 หักข้อมือทั้งสองขึ้นเล็กน้อย
1.3 ผลักบอลด้วยการเหยียดแขนและตวัดข้อมือลง  ผลักด้วยปลายนิ้ว 


 2. การส่งแบบสองมือกระดอนพื้น
          การส่งลูกกระดอนพื้นนี้ใช้เพื่อหลบหลีกจากฝ่ายที่พยายามเข้ามาสกัดกั้นและแย่งลูกบอล การส่งลูกบอลวิธีนี้จะสามารถผ่านการป้องกันของฝ่ายตรงข้ามได้ เพราะการส่งลูกแบบ
กระดอนพื้นเป็นการส่งที่คู่ต่อสู้ป้องกันได้ยาก
 

2.1 จับลูกบอลด้วยมือทั้งสองระดับอกห่างตัวเล็กน้อย
2.2 หักข้อมือทั้งสองขึ้นเล็กน้อย 
2.3 ผลักลูกบอลด้วยการเหยียดแขนและตวัดข้อมือลง ผลักด้วยปลายนิ้วให้กระทบพื้นสองในสามของระยะทางให้กระดอนขึ้นระดับดับอกของผู้รับ